วิเคราะห์ SWOT และ TOWS


จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

http://www.youtube.com/watch?v=M2eMj55ejsI&feature=player_embedded


"เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าวสับปะรด สวยสดหาดเขาถ่ำ งามล้ำน้ำใจ"

     ประจวบคีรีขันธ์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง*ตอนล่างซึ่งมีเขตแดนติดต่อกับภาคใต้ และมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่งไม่ว่าจะเป็นชายหาดต่างๆ หมู่เกาะหรือป่าเขาลำเนาไพร เป็นสถานที่ตากอากาศเก่าแก่ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ประจวบคีรีขันธ์เคยเป็นที่ตั้งของเมืองนารัง สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ตั้งเมืองขึ้นใหม่ขึ้นที่ปากคลองอีรม ชื่อว่า เมืองบางนางรม และในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้รวบรวมเมืองบางนางรม เมืองกุย และเมืองคลองวาฬเป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งแปลว่าเมืองที่มีภูเขาเป็นหมู่ๆ โดยมีที่ว่าการเมืองอยู่ที่เมืองกุย จนกระทั่ง พ.ศ. 2441 จึงย้ายที่ว่าการเมืองมาอยู่ที่อ่าวเกาะหลัก หรืออ่าวประจวบ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบัน
     จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นที่ประมาณ 6,367.620 ตารางกิโลเมตร ลักษณะพื้นที่แคบเป็นคาบสมุทรยาวลงไปทางใต้ โดยมีส่วนที่แคบที่สุดจากเขตแดนไทย-พม่าด้านตะวันตกจนถึงฝั่งทะเลด้านตะวันออกเป็นระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตรอยู่บริเวณด่านสิงขร ท้องที่ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง และมีความยาวจากเหนือจรดใต้เป็นระยะทางประมาณ 212 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี อำเภอกุยบุรี อำเภอทับสะแก อำเภอบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย และอำเภอสามร้อยยอด

* หมายเหตุ : การจัดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์อยู่ในภาคกลาง เป็นการแบ่งตามเขตการปกครองกระทรวงมหาดไทย หากเป็นการแบ่งภาคทางภูมิศาสตร์ตามที่กำหนดไว้ในอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทยของราชบัณฑิตสถาน ประจวบคีรีขันธ์จัดอยู่ในภาคตะวันตก



การวิเคราะห์ SWOT และ TOWS อ.หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์ 

SWOT
 
จุดแข็ง (Strength)
S1 ทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เหมาะสม มีทางออกทั้งสองฝั่งติดทะเลง่ายต่อการเดินทาง
S2 ทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เหมาะสม สามารถเดินทางติดได้ง่ายและสะดวกทั้งภาคใต้ และภาคกลาง
S3 มีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงทั้งในหมู่คนไทยและชาวต่างชาติ เช่น ชายหาดหัวหิน     
S4 มีเทศกาลประจำปีที่โดดเด่นมีชื่อเสียงเป็นที่นิยม เช่น หัวหิน แจ๊ส เฟสติวัล    
S5 มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่หลากหลาย ที่ยังคงความสมบูรณ์ในเรื่องของทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็น ถ้ำ น้ำตก ทะเล ป่าชายเลน เดินป่า อุทยาน วนอุทยาน
S6 มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญ คือ อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติประเภทชายฝั่งทะเลแห่งแรกของประเทศไทย
S7 มีเส้นทางการคมนาคมที่สะดวกหลากหลายให้เลือกเดินทาง ทั้ง ทางรถไฟ สนามบิน ทางน้ำ และทางถนน
S8 มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งทาง ธรรมชาติ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม การเกษตร หัตถกรรม สุขภาพ
S9 มีภูมิปัญญาชาวบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น เครื่องประดับจากกะลามะพร้าว ผลิตภัณฑ์สับปะรด
S10 เป็นจังหวัดที่สงบ มีความปลอดภัย
S11 มีหน่วยงานให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยว รวมถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางการท่องเที่ยวอยู่ตลอด
S12 มีความพร้อมในด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

จุดอ่อน (Weakness)
W1 การจัดการภายในแหล่งท่องเที่ยวยังไม่ดีพอ
W2 มีสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเลฝั่งดันดามันในภาคใต้ที่สวยงามกว่า
W3 เกิดช่องว่างการกระจายรายได้ในเขตอำเภอหัวหิน และ พื้นที่อื่น
W4 ขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะและความรู้ที่ดีด้านภาษา
W5 ปัญหาความยากจนและคุณภาพชีวิตของชาวชนบท
W6 สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวทำให้เกิดความเสื่อมโทรม
W7 การบริหารจัดการทรัพยากรทางการท่องเที่ยวไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม
W8 เทคโนโลยีด้านการแพทย์ที่ไม่ทันสมัยของโรงพยาบาลในเขตชุมชน
W9 ปัญหาเรื่องขยะและมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม

โอกาส (Opportunities)
O1 การเปิดเส้นทางการบินกรุงเทพ- หัวหิน ของสายการบินโลคอสต่างๆ
O2 นโยบายภาครัฐที่สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงชุมชน และการให้ความสำคัญของรัฐที่มีต่อการพัฒนา “ทุนของชุมชน”
O3 รัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในระดับชุมชน
O4 การเปิดสาขาการท่องเที่ยวในสถานศึกษาสายอาชีพในจังหวัด
O5 การให้ความสำคัญด้านเทคโนโลยีในการพัฒนาชุมชนของภาครัฐบาล
O6 การเพิ่มขึ้นของศักยภาพทางการแข่งขันด้านการค้า
O7 การขยายตลาดการค้าและการลงทุน
O8 การให้ความสำคัญและการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมดั่งเดิมของชาวบ้าน
O9 แนวโน้มการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพ และนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพเกิดการเรียนรู้มากขึ้น
O10 การได้รับรางวัลด้านความสามารถต่างๆของนักเรียน นักศึกษา สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

อุปสรรค (Threats)
T1 การผันผวนของราคาสินค้า และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
T2 เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง
T3 การเคลื่อนย้ายแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการบริการ และการเกษตร
T4 มีงบประมาณในการพัฒนาที่จำกัด และต้องเลือกพื้นที่ที่จำเป็นที่สุดในการพัฒนา
T5 ภาวการณ์แข่งขันทางเศรษฐกิจที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
T6 การรับวัฒนธรรมตะวันตกของประชาชนที่เพิ่มสูงขึ้น
T7 การความนิยมท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นจากกระแสทางสังคม และความบันเทิง
T8 ภาวะโลกร้อน
T9 ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เริ่มขาดแคลน


TOWS

กลยุทธ์จุดแข็ง – โอกาส (S-O)
- จัดทำแผนพัฒนาชุมชนที่มีประสิทธิภาพ (S9,S10,S11,O2,O3)
- จัดการถ่ายทอดออกอากาศผ่ายสื่อต่างๆในเทศกาลที่มีชื่อเสียงและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด (S3,S4,S7,S11,S12,O2,O5,O6,08,010)    
- ส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ( S10,S11,O1,O2,O3)    
- สร้างสินค้าทางการท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับทรัพยากรในจังหวัด(S5,S6,S8,S11,06,07,09)    
- เจาะกลุ่มตลาดนักท่องเที่ยวทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น (S5,S6,S11,O4,O5,O6,O7,O9)
- ส่งเสริมการเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์ชุมชนกับภาคเอกชน (S11,S12,O4,O5,O6,O7)


กลยุทธ์จุดอ่อน – โอกาส (W-0)     
- จัดการฝึกอบรมผู้ประกอบการแหล่งท่องเที่ยวระดับชุมชน ในเรื่องบริหารจักการแหล่งท่องเที่ยว (W1,W4,W7,O7)     
- ประชุมเพื่อหาแนวทางการจัดรูปแบบการท่องเที่ยวที่เน้นทำกิจกรรมในชุมชนแต่ละชุมชนให้นานขึ้น (W3,W5,O2,O3,O9)     
- สำรวจแหล่งท่องเที่ยว พร้อมกับการพัฒนาและฟื้นฟู (W6,W7,W9,O9)

กลยุทธ์จุดแข็ง – อุปสรรค (S-T)    
- จัดการรณรงค์ผ่านโครงการสร้างจิตสำนึกรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น รวมถึงทรัพยากรทางสังคมและวัฒนธรรม ด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวที่หลากหลาย และยั่งยืน (T9,T6,T7,S3,S4)
- เน้นการร่วมเครือข่ายธุรกิจชุมชนให้มากขึ้น เพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจชุมชน และลดความรุนแรงจากภาวการณ์แข่งขันทางเศรษฐกิจ (S11,S12,T1,T3,T5)

กลยุทธ์จุดอ่อน – อุปสรรค (W-T)     
- ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนจากทรัพยากรทางธรรมชาติ และขยะ(W7,W9,T9,T8)     
- วางแผนการสร้างการค้าขายของที่ระลึกในแหล่งชุมชนต่างๆ ระหว่างแหล่งท่องเที่ยว เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน (W3,W5,T4,T5)