ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสายการบินแอร์เอเชีย กรุณาเยี่ยมชมเว็ปไซต์ www.airasia.com
17 พฤษภาคม 2553
กลับมาอีกครั้ง โปรโมชั่น "ตั๋ว 0 บาท" จากแอร์เอเชีย
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสายการบินแอร์เอเชีย กรุณาเยี่ยมชมเว็ปไซต์ www.airasia.com
13 พฤษภาคม 2553
สลด เครื่องบินจากแอฟริกาตก สังเวยผู้โดยสาร 105 ศพ
เจ้าหน้าที่ผู้เห็นเหตุการณ์กล่าวว่า ขณะที่เครื่องบินลงจอดก็เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงจนเครื่องบินแตกเป็นชิ้นๆ ซึ่งสาเหตุของโศกนาฏกรรมครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด ทั้งๆ ที่สภาพอากาศก็ปกติดี นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังพบกล่องดำที่บันทึกข้อมูลการบิน เพื่อที่จะช่วยไขปริศนาเกี่ยวกับสาเหตุการตกในครั้งนี้ได้
http://news.mthai.com/world-news/75932.html
12 พฤษภาคม 2553
“หยิบหมอก หยอกดอกกระเจียว"

จังหวัดชัยภูมิ ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครราชสีมา และหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ขอเชิญทุกท่านร่วม “หยิบหมอก หยอกดอกกระเจียว” งานเทศกาลท่องเที่ยวดอกกระเจียวงามจังหวัดชัยภูมิ ประจำปี 2553 ในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน - 31 สิงหาคม 2553 ณ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อำเภอเทพสถิต และ อุทยานแห่งชาติไทรทอง อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ
ทุกวันในเวลาราชการ E – Mail : tatsima@tat.or.th
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธี 2 พิธีรวมกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคลอันเป็นพิธีสงฆ์ อย่างหนึ่ง ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีวันแรกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญอันเป็นพิธีพราหมณ์ อย่างหนึ่ง ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จไปเป็นองค์ประธานเหมือนกับสมัยกรุงสุโขทัย แต่จะมอบอาญาสิทธิ์ให้โดยทรงทำเหมือนอย่างออกอำนาจจากกษัตริย์ และจะทรงจำศีลเงียบ 3 วัน ซึ่งวิธีนี้ได้ใช้ตลอดมาถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการประกอบพระราชพิธีนี้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 แต่ผู้ทำการแรกนาเปลี่ยนเป็นเจ้าพระยาพหลเทพคู่กันกับการยืนชิงช้า แต่พอถึงรัชกาลที่ 3 ให้ถือว่าผู้ใดยืนชิงช้าผู้นั้นเป็นผู้แรกนาด้วย ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดมีพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธีต่าง ๆ ทุกพิธี ดังนั้น พระราชพิธีพืชมงคลจึงได้เริ่มมีขึ้นแต่บัดนั้นมา โดยได้จัดรวมกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และมีชื่อเรียกรวมกันว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีการเพื่อความเป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญเกษตรกร กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี ซึ่งระยะนี้เป็นระยะเหมาะสมที่จะเริ่มต้นการทำนาอันเป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทย แต่ไม่ได้กำหนดวันที่แน่นอนไว้เหมือนกับวันพระราชพิธีอื่น ๆ ส่วนจะเป็นวันใดในเดือนหกหรือเดือนพฤษภาคมที่มีฤกษ์ยามที่เหมาะสมต้องตามประเพณีก็ให้จัดขึ้นในวันนั้น
การจัดงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ได้กระทำเต็มรูปบูรพประเพณีครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ.2479 แล้วก็ว่างเว้นไปจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2503คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ฟื้นฟูพระราชประเพณีนี้ขึ้นใหม่และได้กระทำติดต่อกันมาทุกปีจนถึงปัจจุบันด้วยเห็นว่าเป็นการรักษาพระราชประเพณีอันดีงาม มีผลในการบำรุงขวัญและจิตใจของคนไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์พระประมุขปัจจุบันทรงมีพระราชกระแสให้ปรับปรุงพิธีการบางอย่างให้เหมาะสมกับยุคสมัย และเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีนี้ทุกปีสืบมามิได้ขาด
กิจกรรมในงาน : พระราชพิธีอันสืบทอดมาช้านาน เพื่อส่งเสริมสิริมงคลแก่พืชพรรณ ธัญญาหาร บำรุงขวัญเกษตรกร และเพื่อทำนายถึงสภาพดินฟ้า อากาศและผลผลิตที่จะงอกเงยในฤดูเก็บเกี่ยวที่กำลังจะเริ่มขึ้น
ชมกระทิงฝูง กลางป่าดงพญาเย็น จ.นครราชสีมา
ป่ามรดกโลกผืนล่าสุดนี้ คือกลุ่มป่าดงพยาเย็นในอดีต ซึ่งวันนี้กลายมาเป็นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทับลาน ปางสีดา ตาพระยาและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ หลังจากฝนแรกในเดือนเมษายนผ่านไปหญ้าอ่อนก็จะแตกใบ นี่คือวันเวลาที่ดีที่สุด ที่กระทิงจะออกมาหากินตามทุ่งหญ้า โป่งสัตว์และแหล่งน้ำซับ แหล่งดูกระทิงวันนี้ที่เห็นง่ายที่สุด คือ คลองปลากั้ง เขาแผงม้า จังหวัดนครราชสีมา และตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
ช่วงเวลาที่ดีที่สุด: 17.00 น. ถึงพลบค่ำ
ฤดูกาลที่ดีที่สุด: ต้นฤดูฝนราวเดือนพฤษภาคม
จุดชมวิวิที่ดีที่สุด: จุดชมกระทิงคลองปลากั้ง เขาแผงม้า และตาพระยา
เส้นทางการเดินทาง จาก อ.ปากช่องใช้ทางหลวงหมายเลข 2090 บริเวณหน้าด่านขึ้นเขาใหญ่มีทางแยกซ้ายมือไป อ.วังน้ำเขียว ไปต่ออีกราว 45 กิโลเมตร ถึงหน่วยพิทักษ์ป่าคลองปลากั้ง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ติดต่อที่ ททท.สำนักงานนครราชสีมา โทร. 044 213 030, 044 213 666
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
11 พฤษภาคม 2553
การท่องเที่ยวฮ่องกงเปิดตัวแคมเปญ “Festive Hong Kong 2010”
การท่องเที่ยวฮ่องกงเปิดตัวแคมเปญ “Festive Hong Kong 2010”
Cultural Celebrations ในเดือนพฤษภาคม ศกนี้ กับสี่งานเทศกาลท้องถิ่นอันมีชีวิตชีวาของฮ่องกง ที่แสดงถึงความเลื่อมใสและศรัทธาต่อเทพเจ้าท้องถิ่นและพุทธศาสนาของชาวฮ่องกง ได้แก่ เทศกาลซาลาเปาบนเกาะเชิงเชา (18-22 พฤษภาคม) เทศกาลฉลองวันเกิดเจ้าแม่ทินโห่ว (6 พฤษภาคม) เทศกาลฉลองวันเกิดเทพทัมกุง (21 พฤษภาคม) และวันฉลองคล้ายวันประสูติของพระพุทธเจ้า (21 พฤษภาคม)
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อคุณวันดี เลิศสุพงศ์กิจ โทร. 02233 4329/30 แฟกซ์ 02236 8030
อีเมล์ pr@francomasia.com หรือ www.DiscoverHongKong.com
ถ้ำเกลือ ที่แรกในเอเชีย

Salt Cave Bangkok at The Manor 39 หรือถ้ำเกลือเพื่อสุขภาพ แห่งแรกในประเทศไทย ในซอยสุขุมวิท 39 และแห่งแรกในเอเชีย อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับ คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ อาทิเช่น หอบหืด, หลอดเลือดอักเสบเรื้อรัง, หลอดลมตีบ, ถุงลมโป่งพอง, อาการไอที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ทั้งสูบโดยตรงและได้รับควันจากผู้อื่น, คออักเสบ, ไซนัสอักเสบ, อาการแพ้ฝุ่นและละอองเกสร, อาการเครียดและอ่อนเพลียเรื้อรัง, หายใจขาดลม แน่นหน้าอก ฯลฯจากแนวความคิดของผู้บริหาร The Manor 39 ที่เล็งเห็นถึงคุณสมบัติของเกลือ “Pharma Salt “ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยา ในเรื่องของการฆ่าเชื้อและลดการอักเสบ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และส่งผลดีต่อผู้ที่มีปัญหาทางด้านระบบทางเดินหายใจ อีกทั้งข้อมูลจากการวิจัยของต่างประเทศผ่านทาง CNN และ BBC ในเรื่องของถ้ำเกลือเพื่อสุขภาพที่เกิดขึ้นแล้ว ในรัสเซีย , โปแลนด์ , อังกฤษ ประกอบกับแหล่งกำเนิดเหมืองเกลือ ในประเทศโปแลนด์ ที่วิจัยมาแล้วว่า ผู้ที่ทำงานในเหมืองเกลือและได้รับอณูเกลือนั้นไม่เป็นโรคภูมิแพ้ หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
ถ้ำเกลือเพื่อสุขภาพ “Salt Cave” จึงเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ และโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ สามารถเข้าไปใช้บริการในถ้ำเกลือ แล้วสูดไอเกลือ “Pharma Salt”ที่มีอณูเกลืออยู่ภายในถ้ำ เพียงแค่ 45 นาที เสมือนเราไปนั่งอยู่ริมทะเล 3 วัน และภายในถ้ำเกลือนอกจากอณูเกลือที่ลอยอยู่ในบรรยากาศแล้ว ส่วนผนัง และพื้น ก็เต็มไปด้วยเกลือสินเถาว์บริสุทธิ์ ส่งผลให้มีประจุลบช่วยในเรื่องการดูดซึมแบคทีเรียหรือเชื้อโรคที่มีอยู่ในระบบทางเดินหายใจและประจุลบยังส่ง ผลช่วยทำให้ผ่อนคลายอีกด้วย “Pharma Salt” เป็นเกลือแห้งที่มีความบริสุทธิ์ 100 %ไม่มีส่วนผสมของไอโอดีนและแป้งมัน ซึ่ง ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยา ผู้ที่ใช้บริการจะรู้สึกดีขึ้นได้ตั้งแต่ครั้งแรกและจะรู้สึกอาการของโรคภูมิแพ้ หรือโรคระบบทางเดินหายใจทุเลาต้องใช้บริการอย่างน้อย 5 ครั้งขึ้นไป
สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร 02 662 5519 ทุกวัน หรือwww.saltcavebangkok.com
เยือนชุมชนบ้านสิงห์ท่า ค้นหาอดีตเมืองยโสธร

ในอดีตยโสธรมีความเป็นมาตั้งแต่ยุคทวารวดี โดยมีบันทึกในพงศาวดารกล่าวว่า พระเจ้าราชวงศา (พระวอ) เสนาบดีเก่าแห่งเมืองเวียงจันทน์ ท้าวหน้า ท้าวคำผง ท้าวทิตพรหม และท้ามมุม พร้อมด้วยไพร่พลอพยพไปอาศัยกับเจ้านครจำปาศักดิ์ เมื่อมาถึงดงผีสิงห์ เห็นทำเลที่ตั้งเหมาะสมแก่การตั้งถิ่นฐานจึงสร้างเมืองขึ้นที่บ้านสิงห์ท่า (เมืองสิงห์ท่า) และยกฐานะเป็นเมืองยโสธรในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ยโสธรถูกรวมเข้ากับกองหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือมีเมืองอุบลราชธานี เป็นเมืองเอก เรียกว่า มณฑลลาวกาว ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2456 ยโสธรกลายเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอยบราชธานี และในปี พ.ศ. 2515 จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดลำดับที่ 71 ของประเทศไทย
เที่ยวชมเมือง

วัดมหาธาตุ ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบุษยรัตน์ (พระแก้วหยดน้ำค้าง) พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน เป็นพระคู่เมืองของชาวยโสธรมายาวนาน หอไตรโบราณกลางสระน้ำ เป็นที่เก็บคัมภีร์ใบลานเก่าแก่ ที่สำคัญวัดมหาธานุเป็นที่ตั้งของพระธาตุยโสธร หรือพระธาตุอานนท์ บรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์ รูปทรงเจดีย์เป็นสี่เหลี่ยมศิลปะอิทธิพลลาว สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นสมัยรัตนโกสินทร์
วัดสิงห์ท่า ประวัติของการก่อบ้านสร้างเมืองยโสธร เริ่มขึ้นที่วัดสิงห์ท่าแห่งนี้ โดยในยุคแรกที่สร้างบ้านสิงห์ท่าได้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้นด้วย แต่ไม่มีคณะสงฆ์ ในยุคต่อมาได้ขุดค้นพบสิงห์หินและพระพุทธรูปใหญ่อยู่ในดง (บริเวณวัดสิงห์ท่าปัจจุบัน) จึงสถาปนาวัดแห่งนี้ขึ้นเป็นวัดสิงห์ท่า ปัจจุบันพระพุทธรูปโบราณปางมารวิชัย ก่อด้วยอิฐฉาบปูนลงรักปิดทองขนาดหน้าตักกว้าง 3 เมตรรูปนี้ ยังเป็นพระประธานของวัดสิงห์ท่า ซึ่งชาวยโสธรจัดให้มีการสรงน้ำหลังสงกรานต์เป็นประจำทุกปี
กินอร่อย ในเมืองยโสธรมีอาหารหลากหลาย โดยเฉพาะอาหารท้องถิ่นอีสานที่ขึ้นชื่อคือ ส้มตำ ในเขตชุมชนบ้านสิงห์ท่า พลาดไม่ได้ ควรไปชิม ปลาส้ม ซึ่งมีแหล่งผลิตอยู่ย่านบ้านสิงห์ท่า และวางขายทั่วไปในเมือง ส่วนของหวานต้องยกนิ้วให้ลอดช่องยโสธร เส้นเล็กเหนียว นุ่ม และหอมใบเตย มีขายตามร้านขนมหวานทั่วไป หากจะซื้อเป็นของฝากต้องไปแหล่งผลิตย่านบ้านสิงห์ท่า
ช้อปสนุก ของฝากจากเมืองยโสธรโดยมากเป็นงานหัตถกรรมที่ขึ้นชื่อคือ หมอนขิตทรงสามเหลี่ยม ตกแต่งลวดลายอย่างทันสมัย แหล่งผลิตอยู่ที่หมู่บ้านศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว ยังมีงานจักสานไม้ไผ่ ฝีมือดีของชาวบ้านทุ่งนางโอก และงานแกะสลักเกวียนจำลองที่บ้านนาสะไมย์ในเขตอำเภอเมืองยโสธร
บั้งไฟยโสธร หากได้มาเยือนในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคมของทุกปี ที่นี่มีงานบุญยิ่งใหญ่คือ "บุญบั้งไฟ" หนึ่งในประเพณีฮีตสิบสอง ที่เชื่อกันว่า เป็นการบูชาเทพเจ้าที่รักษาเมือง เพื่อบูชาพญาแถนผู้สามารถดลบันดาลให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล เรือกสวนไร่นาจะได้อุดมสมบูรณ์ ซึ่งชาวอีสานสืบทอดประเพณีนี้มา และที่สวนสาธารณะพญาแถนยังมีฐานยิงบั้งไฟจำลองให้คนมาเยือนได้ชมอีกด้วย
สอบถามข้อมูลท่องเที่ยวได้ที่ ททท.สำนักงานอุบลราชธานี พื้นที่รับผิดชอบ :
ยโสธร,อำนาจเจริญ,อุบลราชธานี 264/ ถ.เขื่อนธานี อ.เมือง จ.อุบลราธานี 34000 โทรศัพท์. 0 4524 3770 , 0 4525 0714 โทรสาร. 0 4524 3771
อีเมล :tatubon@tat.or.th
เว็บไต์ :www.tourismthailand.org/ubonratchathani
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
http://www.tatubon.org
10 พฤษภาคม 2553
งานมหัศจรรย์ท่องเที่ยวไทย 2553
ท่องเที่ยวสุขสันต์ สวรรค์เนรมิต
บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด ขอเชิญร่วมงาน “มหัศจรรย์ท่องเที่ยวไทย 2553” (Wonderful Thailand 2010) เพื่อขานรับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริม และสนับสนุน ธุรกิจท่องเที่ยวให้เติบโต ทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทยให้เป็นที่รู้จัก แพร่หลายมากขึ้น และที่สำคัญเพื่อกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องตลอด ทั้งปีตั้งแต่ช่วงกรีนซีซั่นถึงช่วงไฮซีชั่น
นีโอ คงความเป็นผู้จัดงานด้านการท่องเที่ยวเพื่อช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจท่องเที่ยวของประเทศอย่างต่อเนื่องกับ Wonderful Thailand 2010 งานท่องเที่ยวครั้งยิ่งใหญ่ โดยรวบรวมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยว เพื่อเสนอแพ็คเกจท่องเที่ยว ที่พัก สายการบิน ในราคาพิเศษสุด พร้อมรับโปรโมชั่นสุดคุ้มมากมาย และยังได้ร่วมสนุกกับกิจกรรมมากมาย
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก :
7 พฤษภาคม 2553
6 พฤษภาคม 2553
ประเพณี บุญบั้งไฟ
ประเพณี บุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร
วันที่ 5-9 พฤษภาคม 2553
สถานที่ ณ สวนสาธารณพญาแถน และ เขตเทศบาลเมืองยโสธร
บุญบั้งไฟ เป็นหนึ่งในฮีตสิบสองเดือนของชาวอีสาน นิยมทำกันในเดือน 6 หรือเดือน 7 ซึ่งจะตกในราวเดือนพฤษภาคม อันเป็นช่วงฤดูฝนเข้าสู่การทำนา ตกกล้า หว่านไถ เพื่อเป็นการบูชาพญาแถน ขอให้ฝนตกก้องตามฤดูกาลเหมือนกับการแห่นางแมวของคนภาคกลาง
คำอธิบายเกี่ยวกับประเพณีบุญบั้งไฟ รวมทั้งความคิดเห็นของคนทั้วไปมักกล่าวถึงความสำคัญของบุญบั้งไฟกับวิถีชีวิตของคนอีสานในฐานะพิธีกรรมแห่งความสมบูรณ์ และมีความเกี่ยวเนื่องกับ ตำนาน นิทานปรัมปราพื้นบ้าน เช่น เรื่องเท้าผาแดง - นางไอ่ ตำนานรักสามเส้าของเท้าผาแดง นางไอ่และท้าวพังคีพญานาค ที่มีการแข่งขันจุดบั้งไฟเพื่อแย่งชิงนางไอ่ จนกลายเป็นสงครามสู้รบและมีอภินิหารเล่าลือกันมาหมาย เรื่องพญาคันคากหรือคางคกยกรบขอฝนจากแถนบนฟ้า พญาแถนรบแพ้พญาคันคากจึงยอมให้ฝนแก่โลกแต่มีข้อแม้ว่าหากพญาคันคากต้องการฝนเมื่อใดก็ให้บอกพญาแถนด้วยการจุดบั้งไฟขึ้นไปบนฟ้า หรืออีกตำนานที่เล่าว่าพระพรหมกับพญานาคเป็นเพื่อนรักกัน พระพรหมอยู่บนสวรรค์พญานาคอยู่ใต้บาดาล อยากจะรู้สารทุกข์สุขดิบกันก็ไม่รู้จะทำอย่างไรจึงตกลงกันว่า เมื่อใดที่พญานาคอยู่ดีมีสุขให้พญานาคจุดบั้งไฟไปบอกข่าวและพระพรหมจะส่งฝนตกลงมาบนพื้นโลกเป็นการตอบรับพญานาค ดังที่ได้กล่าวมา วัตถุประสงค์หลักของบุญบั้งไฟ ก็คือ "การขอฝน" เชื่อกันว่าหากท้องถิ่นใดละเลยไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ก็อาจจะก่อให้เกิดภัยพิบัติแก่คนในชุมชน เว้นเสียแต่ต้องทำพิธีขอเลื่อนการจัดที่ศาลปู่ตา (ศาลผีบรรษพบุรุษหรือเทพารักษ์)ของหมู่บ้านเสียก่อน
ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของพิธีบุญบั้งไฟอีสานในอดีตจนกระทั่งปัจจุบันคือ การละเล่นที่มักเต็มไปด้วยสื่อสัญลักษณ์ทางเพศและเพศสัมพันธ์ เช่น อวัยวะเพศชาย (บักแป้น, ขุนเพ็ด) อวัยวะเพศหญิงจำลอง ตุ๊กตาชาย - หญิง ในท่าร่วมเพศ ตุ๊กตารูปสัตว์ (โดยมากมักจะทำเป็นรูปลิง) ในท่าร่วมเพศ รวมทั้งการแสดงออกของผู้คนในขณะร่วมงานบุญบั้งไฟนั้น เห็นได้ชัดว่ามีความเชื่อในเรื่องฟ้าดินโดยที่ฟ้าเป็นสัญลักษณ์ของเพศชาย ดินเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างฟ้าดินคือฝนที่โปรยปรายลงมาสู่ดินก่อให้เกิดความเจริญเติบโตงอกงามของพืชพันธุ์ธัญญาหารแก่โลกมนุษย์ เพื่อเป็นการเตือนฟ้าดินมิให้ลืมหน้าที่ มนุษย์จึงใช้อุบายคือ การละเล่นเกี่ยวกับเพศมาเป็นส่วนประกอบในงานบุญบั้งไฟ ทั้งนี้รวมไปถึงการใช้คำเซิ้งที่ใช้ในการ "เซิ้งบั้งไฟ" ที่มักมีคำหยาบปะปนอยู่มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับอวัยวะเพศซึ่งจะพบในงานบุญบั้งไฟทุกแห่ง อย่างไรก็ตาม การแสดงออกในสัญลักษณ์เชิงเพศที่ปรากฎในงานบุญบั้งไฟดูเหมือนจะถูกจำกัดลงเมื่อเทศกาลงานประเพณีดังกล่าวได้ถูกเปิดตัวสู่การกลายเป็นประเพณีเพื่อตอบสนองต่อการท่องเที่ยว
นอกจากนี้ความน่าสนใจของเนื้อหาสาระของประเพณีบุญบั้งไฟยังอยู่ที่ภาพสะท้อนการผสมผสานระหว่างคติความเชื่อฝ่ายพุทธ กับแนวความคิดในแบบสังคมแบบพุทธกาล (ก่อนรับพุทธศาสนา) เกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ แม้ว่าบุญบั้งไฟแต่เดิมอาจจะไม่ใช่ประเพณีในพระพุทธศาสนา แต่ทว่า ชาวไท - ลาว ได้ทำให้งานบุญนี้เลื่อนไหลเข้ามาอยู่ในบริบทของพุทธศาสนาอย่างชัดเจนมากขึ้น เช่น การเชิญมาร่วมงานก็ถือว่าเป็นการทำบุญ ตลอดจนมีตำนานที่เล่าถึงต้นกำเนิดของพิธีกรรมนี้ว่ามาจากการที่สาวกองค์หนึ่งพุ่งคบเพลิงไปถวายพระเพลิงพระพุทธองค์เนื่องจากเข้าไม่ถึงที่ถวายพระเพลิงศพ นอกจากนี้วัดยังเป็นแหล่งกลางของกิจกรรมในงานบุญ นับตั้งแต่การเตรียมบั้งไฟ ไปจนถึงการเล่นสนุก อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธศาสนาแทรกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของบุญบั้งไฟหลายอย่างเช่น การบวชและการ "ฮดสงฆ์" หรืออภิเษกสมณศักดิ์ให้แก่พระภิกษุ เป็นต้น ดังที่ได้กล่าวมาว่าบุญบั้งไฟเป็นประเพณีที่ทำกันทั้วไปในภาคอีสานปัจจุบัน
ปัจจุบันงานบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร มีกำหนดจัดขึ้นในช่วงราวกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยมีกิจกรรมหลักคือ บั้งไฟที่มีการประกวดประชัน บั้งไฟทั้งบั้งไฟขึ้นสูง บั้งไฟสวยงาม (บั้งเอ้หรือบั้งไฟประดับที่ไม่สามารถจุดได้จริง) บั้งไฟโบราณ นอกจากนี้ยังมีการประกวดกาพย์เซิ้งบั้งไฟ ประกวดธิดาบั้งไฟโก้ นักท่องเที่ยวสามารถชมขบวนแห่เหศักดิ์ ขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม ขบวนแห่บั้งไฟโบราณ ตลอดขบวนแห่มีการเซิ้งของแต่ละคุ้มวัดที่ส่งบั้งไฟเข้าประกวด ทั้งนี้งานบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร ได้รับการส่งเสริมได้รับการส่งเสริมในระดับที่มีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ ภายในงานยังมีการจัดกิจกรรมมหรสพรื่นเริง เช่น เวทีคอนเสิร์ต หมอลำ การจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และสินค้าทั้วไปบริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร และโรงเรียนเทศบาล 1 และสวนสนุกในลักษณะงานวัด
กำหนดการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร ประจำปี 2553
วันที่ 3 พฤษภาคม 2553
เวลา 09.00 - 24.00 น. - มหกรรมจำหน่ายสินค้า OTOP บริเวณถนนวารีราชเดช (หน้าวัดมหาธาตุ)
เวลา 09.00 - 16.00 น. - ชมกระบวนการจัดทำบั้งไฟสวยงามและบั้งไฟจุดขึ้นสูง
เวลา 19.00 น. - ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร นายกเทศมนตรีเมืองยโสธร นักท่องเที่ยว ชมการฝึกซ้อมรำเซิ้ง การเตรียมขบวนแห่ของคณะบั้งไฟ
เวลา 20.30 น. - พิธีเปิดงาน / การแสดงสมโภชงานประเพณีบุญบั้งไฟ / มหกรรมอาหาร - การประกวดวงดนตรีสตริง สลับกับการประกวดแดนเซอร์ เพลงเซิ้ง และการแสดงของศิลปินรับเชิญ
วันที่ 4 - 5 พฤษภาคม 2553
เวลา 09.00 - 24.00 น. - มหกรรมจำหน่ายสินค้า OTOP บริเวณถนนวารีราชเดช (หน้าวัดมหาธาตุ)
เวลา 09.00 - 16.00 น. - ชมกระบวนการจัดทำบั้งไฟสวยงามและบั้งไฟจุดขึ้นสูง
เวลา 13.00 - 16.00 น. - ชมการสาธิตการทำบั้งไฟริวเซ (บั้งไฟญี่ปุ่น) โดยช่างริวเซ จากเมืองชิชิบุ จังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น
เวลา 19.00 - 24.00 น. - ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร นายกเทศมนตรีเมืองยโสธร นักท่องเที่ยว ชมการฝึกซ้อมรำเซิ้ง การเตรียมขบวนแห่ของคณะบั้งไฟ ณ มมร., คุ้มวัดอัมพวัน, คุ้มวัดดอนพระเจ้า, คุ้มวัดมหาธาตุ, คุ้มวัดศรีไตรภูมิ, คุ้มวัดทุ่งสว่างชัยภูมิ - มหกรรมอาหาร / การประกวดกาพย์เซิ้งบั้ง ประเภทประชาชน/เยาวชน การแสดงของนักเรียน สลับกับศิลปินรับเชิญ
วันที่ 6 พฤษภาคม 2553
เวลา 09.00 - 24.00 น. - มหกรรมจำหน่ายสินค้า OTOP บริเวณถนนวารีราชเดช (หน้าวัดมหาธาตุ)
เวลา 09.00 - 16.00 น. - ชมกระบวนการจัดทำบั้งไฟสวยงามและบั้งไฟจุดขึ้นสูง
เวลา 13.00 - 16.00 น. - ชมการสาธิตการทำบั้งไฟริวเซ (บั้งไฟญี่ปุ่น) โดยช่างริวเซ จากเมืองชิชิบุ จังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น
เวลา 19.00 - 24.00 น. - ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร นายกเทศมนตรีเมืองยโสธร นักท่องเที่ยว ชมการฝึกซ้อมรำเซิ้ง การเตรียมขบวนแห่ของคณะบั้งไฟ ณ คุ้มวัดสิงห์ท่า, คุ้มวัดศรีธรรมาราม, คุ้มวัดใต้ศรีมงคล - มหกรรมอาหาร / การแสดงของศิลปินรับเชิญ / การประกวดนางฟ้าจำแลง (มอบรางวัลวันที่ 7 พ.ค. 53 เวลา 19.00 น. ณ กองอำนวยการ)
วันที่ 7 พฤษภาคม 2553
เวลา 07.00 - 14.00 น. - การเซิ้งบั้งไฟ และการละเล่นแบบโบราณ (ตามวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิม)
เวลา 09.00 - 24.00 น. - มหกรรมจำหน่ายสินค้า OTOP
เวลา 16.00 น. - ประกวด และโชว์บั้งไฟสวยงามตามแนวถนนแจ้งสนิทจากหน้าศาลจังหวัดยโสธรถึงตรงข้ามหน้าธนาคารออมสิน - แดนเซอร์ทุกคนของกองเชียร์ทุกคณะ / ชาวสตรีเหล็กและพี่น้องชาวสีม่วงพร้อมด้วยผู้เข้าประกวดนางฟ้าจำแลงพร้อมกัน ณ กองอำนวยการ
เวลา 19.30 - 22.00 น. - พิธีมอบรางวัลการประกวดธิดาบั้งไฟโก้ การประกวดานางฟ้าจำแลง การประกวดแดนเซอร์เพลงเซิ้ง และการแระกวดกาพย์เซิ้ง ประเภทประชาชนและเยาวชน - พิธีเปิดมหกรรม ROCKET CARNIVAL โดยสตรีเหล็ก พี่น้องชาวสีม่วงทั่วไทยและทั่วโลก - เริ่มการประกวดกองเชียร์ - การประกวดธิดาบั้งไฟโก้ (พร้อมพิธีมอบรางวัล) - มหกรรมอาหาร / การแสดงของศิลปินรับเชิญ
วันที่ 8 พฤษภาคม 2553
เวลา 09.00 - 24.00 น. - มหกรรมจำหน่ายสินค้า OTOP
เวลา 07.00 น. - รถบั้งไฟสวยงามเตรียมพร้อมตามจุด ที่กำหนดก่อนเริ่มขบวนแห่
เวลา 08.00 น. - ขบวนแห่ถ้วยรางวัล จากสำนักงานเทศบาลเมืองยโสธรไปยังกองอำนวยการจัดงาน - คณะกรรมการเจ้าหน้าที่เตรียมพิธีเปิด
เวลา 09.00 น. - ประธานในพิธีเปิดงานเดินทางมาถึงกองอำนวยการจัดงาน วงดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์ - ประธานในพิธีเปิดงานขึ้นบนเวทีกองอำนวยการ ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร มอบของที่ระลึกแด่ประธานในพิธี จากนั้นประธานในพิธีไปที่แท่นรับคำกล่าวรายงาน - ประธานคณะกรรมการจัดงาน กล่าวรายงานการจัดงานต่อประธานในพิธี - ประธานในพิธีกล่าวเปิดและลั่นฆ้องชัยเปิดงาน จำนวน 3 ครั้ง - วงดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์ เจ้าหน้าจุดพลุเสียงและบั้งไฟตะไลเวลา 09.20 น. - ขบวนแห่มเหศักดิ์ ขบวนศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด ขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม ขบวนแห่บั้งไฟโบราณ ขบวน ROCKET CARNIVAL โดยสตรีเหล็กพี่น้องชาวสีม่วงทั่วไทย และทั่วโลก พร้อมขบวนอื่นๆ เคลื่อนขบวนผ่านหน้ากองอำนวยการไปถึงวัดศรีไตรภูมิ
เวลา 12.00 น. - ประธานร่วมรับประทานอาหารกับคณะกรรมการจัดงานและผู้เข้าร่วมงานจากประเทศญี่ปุ่น ลาว และเวียดนาม
เวลา 14.00 น. - จัดพบปะกลุ่มเจ้าของผลิตภัฑณ์จากข้างของจากญี่ปุ่นพบปะกับผู้ประกอบการค้าข้าวยโสธรต่อด้วยการบริการนวดแผนไทย
เวลา 16.00 น. - มหกรรมอาหาร - การแสดงของศิลปินรับเชิญ
เวลา 18.00 น. - เตรียมเข้าสู่บรรยากาศงานพาแลงเปลี่ยนศิลปะ วัฒนธรรมระหว่างไทย ญี่ปุ่น ลาว และเวียดนาม - คณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ และแขกรับเชิญพร้อมกันที่บริเวณจัดงานพาแลง
เวลา 19.00 น. - ประธานในพิธีงานพาแลง เดินทางมาถึงบริเวณจัดงานพาแลง
เวลา 19.15 น. - ประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน และกล่าวต้อนรับผู้ร่วมงาน - ประธานในพิธีมอบโล่เกียรติคุณให้ผู้สนับสนุนการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ประจำปี 2553 - นายกเทศมนตรีเมืองชิชิบุ ประเทญี่ปุ่น เวียดนาม ลาว กล่าาวแสดงความรู้ - ร่วมรับประทาน และชมการแสดง
เวลา 22.00 น. - เสร็จสิ้นกิจกรรมงานพาแลง
วันที่ 9 พฤษภาคม 2553
เวลา 06.00 น. - คณะบั้งไฟประเภทต่างๆรายงานตัวต่อคณะกรรม
เวลา 08.00 น. - ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร นายกเทศมนตรีเมืองยโสธรจุดั้งไฟเสี่ยงทาย บั้งไฟปฐมฤกษ์ และจุดบั้งไฟโบราณ (วงศ์บั้งไฟ) ทุกประเภท - เริ่มแข่งขันบั้งไฟแฟนซี และบั้งไฟขึ้นสูงตามสูจิบัตร
เวลา 10.00 น. - การจุดบั้งไฟริวเซ ของประเทศญี่ปุ่น
เวลา 15.30 น. - เตรียมพิธีมอบรางวัลการประกวดขบวนแห่บั้งไฟ บั้งไฟสวยงาม ขบวนแห่บั้งไฟโบราณ การแข่งขันบั้งไฟขึ้นสูง บั้งไฟแฟนซี และการประกวดกองเชียร์
เวลา 16.30 น. - ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ประธานในพิธีเดินทางมาถึงกองอำนวยการจุดบั้งไฟ - ประธานในพิธีเชิญประธานในพิธีมอบรางวัลการประกวดแข่งขันบั้งไฟประเภทต่างๆ - ประธานในพิธี และผู้มีเกียรติถ่ายภาพร่วมกับคณะบั้งไฟ และณะอื่นๆที่ได้รับรางวัล - เสร็จพิธี และกิจกรรมประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร ประจำปี 2553
เวลา 19.00 น. - มหกรรมอาหาร การแสดงของศิลปินรับเชิญ
สอบถามรายละเอียดTAT Call Center 1672ททท. สำนักงานอุบลราชธานี โทร. 0 4524 3770, 0 4525 0714
http://thai.tourismthailand.org/festival-event/grand-content-7283.html
เขื่อนเชี่ยวหลาน...ผืนน้ำมรกตกลางหุบเขา

สุราษฎร์ธานี...เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ สุราษฎร์ธานี ไม่ใช่มีเพียงความเด่นตามคำขวัญเพียงแค่นั้น ความงามที่ชวนสัมผัส และสร้างความจดจำมิรู้ลืมอีกแห่ง ที่ไม่แพ้ที่ใดเลยคือ....เขื่อนเชี่ยวหลาน หรือที่บรรดานักท่องเที่ยวให้สมญานามอีกชื่อว่า “กุ้ยหลินเมืองไทย” (เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเหมือนที่จีน)
ทริปนี้ไปเยือนมาเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 53 ที่ผ่านมา ด้วยราคาค่าเดินทางรวมทั้งทริปจากกรุงเทพฯ เพียง 3,900 บาท เท่านั้น (ร่วมค่าเครื่องบินไป-กลับ) ไปได้ถึง 3 วัน 2 คืน นักท่องเที่ยวบางท่านเกรงว่าค่าใช้จ่ายสูง ที่จริงเที่ยวเมืองไทยไม่แพงอย่างที่คิด เพียงแค่วางแผนการท่องเที่ยวล่วงหน้าให้ดี หาข้อมูลก่อนท่องเที่ยวให้ครอบคลุม เชื่อหรือไม่ว่าคุ้มค่าการเดินทางจริงๆ เที่ยวครั้งนี้ซื้อทัวร์ให้นำทาง ได้ศึกษามาเป็นอย่างดีแล้วว่าชาวบ้านท้องถิ่นจะมีความรู้ด้านการบริการนำเที่ยวที่นั่นเป็นอย่างดี เมื่อเดินทางถึงสนามบิน รถตู้มารอรับ ได้นำเราทั้ง 4 คน แวะซื้ออาหารประจำชาติ (เน้นส้มตำ ไก่ย่าง) ไปทานที่สันเขื่อน ซึ่งเราไปถึงกันเย็น บรรยากาศสันเขื่อนเวลานั้น จะมีแต่เฉพาะชาวบ้านในพื้นที่เท่านั้นที่พาครอบครัวไปพักผ่อน อากาศเริ่มเย็นสบาย และภาพตรงหน้าเห็นวิวทิวเขาสลับซับซ้อนมีหมอกจางๆ ชมอาทิตย์กำลังจะลับขอบฟ้าซ่อนตัวลงหลังทิวเขา ส่องแสงเป็นสีส้ม ธรรมชาติเปิดฉากการต้อนรับที่แสนจะอบอุ่นจริงๆ เมื่อได้ลิ้มลองส้มตำรสเด็ดฝีมือชาวบ้านกันอิ่มแล้ว รถตู้เดินทางเข้าที่พักซึ่งเป็นรีสอร์ทท่ามกลางหุบเขา และตั้งใจว่าจะตื่นมาชมหมอกตอนเช้า แต่ค่ำคืนนี้ขอเก็บภาพหมู่ดาวไว้ในความทรงจำก่อน…
รุ่งอรุณวันใหม่ ประมาณ 6 โมงเช้า ต้องทึ่งกับภาพที่เห็นเมื่อเปิดม่านมองออกไปจากระเบียง สะดุดกับความงดงามที่เห็นอยู่ตรงหน้า สายหมอกล้อมลอบหุบเขา หยดน้ำค้างเกาะตามหน้าต่างและดอกไม้ บรรยากาศสดชื่น เย็นสบาย นักท่องเที่ยวบางกลุ่มเริ่มทยอยสะพายกล้องออกไปเพื่อเก็บภาพความประทับใจที่ได้รับจากธรรมชาติล้วนๆ ซึ่งรวมทั้งเรา 4 คนด้วย จากนั้นรถตู้นำเราไปล่องเรือแคนูที่ลำธารใกล้รีสอร์ทกันต่อ สองข้างทางที่ล่องเรือนั้นเต็มไปด้วยอากาศที่สะอาด บริสุทธิ์ และเสียงกระรอกขับร้องดังก้องป่าอยู่ตลอดเวลา ธรรมชาติเริ่มทักทายเราอีกครั้ง
รถตู้มารับเรามุ่งสู่จุดหมายในการมาเยือนสุราษฎร์ธานีครั้งนี้ ที่…เขื่อนเชี่ยวหลาน ลงเรือประมาณ 9 โมง มุ่งหน้าสู่แพที่พัก อากาศกำลังดีไม่ร้อน ได้ชมภาพธรรมชาติของเขื่อนที่สรรสร้างภูเขาทอดตัวเป็นทางยาวเกิดเป็นรูปร่างต่างๆ กัน ตามแต่จินตนาการ เมื่อถึงแพที่พักชาวบ้านที่นั่นต้อนรับเราคล้ายกับโฮมสเตย์ อบอุ่น และเป็นกันเองมาก ประดุจเป็นญาติสนิทของพวกเขา เราเริ่มเล่นน้ำ พายเรือคายัค ให้อาหารปลาที่อยู่รอบๆ แพ และเมื่อแดดร่มลงเราได้นั่งเรือออกไปชมกุ้ยหลินของเมืองไทย ชาวบ้านขนานนามที่นี่ว่าเขาสามเกลอ มีเขาหินเรียงกันอยู่สามลูก คนขับดับเครื่องเรือให้ได้ชมความอัศจรรย์อย่างเต็มอิ่ม บรรยากาศยามนั้นเงียบสงบ สัมผัสเสียงนกร้องมาจากไกลๆ เสียงน้ำกระทบท้องเรือ ท้องฟ้าสวยอากาศเปิดโล่ง ไม่รอช้าเราทั้ง 4 เกลอ นำกล้องออกมาเก็บภาพเขาสามเกลอทันที อีกมุมหนึ่ง...ที่เป็นความงดงามและความบังเอิญที่เกิดจากธรรมชาติ โบกมือลาเขาสามเกลอ เรือเดินทางต่อไปที่แพของทางอุทยานฯ ที่นั่นมีปลาเยอะมาก เราสามารถเอาขาหย่อนลงน้ำและให้อาหารปลาไปพร้อมๆ กัน ปลานับร้อยจะมาสัมผัสขาเรา ดูคล้ายพากันแหวกว่ายวนเวียนหยอกล้อเล่นกับเราซึ่งจะไม่ทำให้เราเจ็บหรือเกิดอันตราย เป็นอีกสิ่งที่ได้เข้าใกล้ธรรมชาติอย่างถึงเนื้อถึงตัว ประทับใจมาก จุดนี้ไม่แนะนำให้นักท่องเที่ยวเล่นกับปลาแรงๆ เช่น เอาเท้าเตะ หรือพยายามจับตัวปลา ขณะที่เพลิดเพลินกับการให้อาหารปลา คนก็ท้องร้องแล้วเหมือนกัน เรือพากลับแพที่พักและเตรียมออกส่องสัตว์ตอนกลางคืนกันต่อ ท่องราตรียามค่ำคืนที่เขื่อน ไม่พบสาวสวยแต่พบชะนีโดดไปมาบนยอดต้นไม้สูง ท้องฟ้าประดับไฟด้วยดวงดาว เชื้อเชิญให้คู่รักหลายคู่จูงมือกันมานั่งนับดาว ถ้ามีดาวตกคงเป็นภาพที่สวยงามไม่น้อย ราตรีนี้อากาศเย็นเข้านอนที่แพห่มผ้าที่ทอจากหุบเขารอบเขื่อน
ยามเช้าแดดส่องแพอุ่นๆ เรือพาเราแล่นผ่านหมอกจางๆ ที่ลอยอยู่เหนือผิวน้ำไปยลโฉมนกเงือก น่าอิจฉานกที่สามารถอยู่กับธรรมชาติได้อย่างลงตัวขนาดนี้ จากนั้นขึ้นบก แวะไหว้พระที่พระบรมธาตุไชยา ทานอาหารทะเล และตามธรรมเนียม แวะซื้อของฝากอันเลื่องชื่อ ไข่เค็ม เต้าส้อ ก่อนกลับสู่บ้านที่แท้จริงของเรา... กรุงเทพฯ แม้ว่าที่นี่เคยเป็นตำนานการสร้างเขื่อนที่ทำให้สัตว์ป่าหลายชนิดต้องมาจบชีวิตลง ก่อเกิดสถานที่เที่ยวทางธรรมชาติอีกรูปแบบหนึ่งขึ้นมา แต่เรา...มนุษย์ ก็จะไม่ลืมที่จะท่องเที่ยวอย่างมีจิตสำนึก อย่างรู้ค่า และเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อให้ธรรมชาติและสัตว์ป่าได้อวดโฉมให้คนไทยรุ่นหลังได้มีโอกาสชื่นชมกับสิ่งมหัศจรรย์ที่ทางธรรมชาติได้มอบไว้ให้ และเพื่อเมืองไทย เราจะไปได้ทุกที่....ตลอดไป